Thursday, March 12, 2009

"The Story From My Mind"


























ฤๅเป็นเรื่องจากใจร่วมสมัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรินทร์ รัตนจันทร

วัฒนธรรมร่วมสมัยเกิดขึ้นดำรงอยู่และแปรเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องท่ามกลางกระแสแห่งความสนใจที่มีให้ต่อสาระสำคัญเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแต่ละช่วงเวลาของยุคสมัย สอดคล้องไปกับการค้นพบทางปัญญาและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีซึ่งส่งผลนำไปสู่วิถีทางการดำเนินชีวิต การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิงเพื่อการผ่อนคลายอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ จะเห็นได้ว่าคนรุ่นปู่จะมีความสนใจเฉพาะในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่างไปจากรุ่นพ่อและรุ่นเรา คนเติบโตในช่วงเวลาของการส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ และมนุษย์ประสบความสำเร็จได้เดินบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน จะรับทราบเรื่องราวข่าวสารผ่านรายการโทรทัศน์ขาว-ดำด้วยความตื่นเต้นในบรรยา กาศแห่งการค้นพบนอกเหนือไปจากสาระบันเทิงยามปรกติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ร่วมสมัยของช่วงเวลานั้นเช่นเดียวกับรายการบันเทิงอื่นๆสำหรับผู้ชมทั่วไป ในส่วนของเด็กมีโอกาสได้ดูทั้งภาพยนต์รวมถึงหนังสือการ์ตูนรูปแบบต่างๆตอบสนองความนิยมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาเช่นกัน ภาพการ์ตูนเป็นสื่อบันเทิงประเภทที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของเด็กอย่างมากสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนหนึ่งในบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ในแต่ละยุคสมัยถูกครอบงำโดยไม่รู้ตัวจากเนื้อหาเรื่องราวและรูปแบบในการ์ตูนที่ตนชอบ เช่น ซูเปอร์แมน มิกกี้เมาส์ โดเรมอน ดรากอนบอล ก้านกล้วย นารูโตะ ฯลฯ ไม่ต่างไปจากศิลปินร่วมสมัยจำนวนหนึ่งประทับใจซึมซับภาพการ์ตูนไว้ตั้งแต่เยาว์วัย รูปการ์ตูนชนิดต่างๆประทับฝังอยู่ในความทรงจำได้ถูกนำไปปรับใช้เป็นรูปแบบในการแสดงออกซึ่งความคิดความรู้สึกของศิลปินได้อย่างน่าสนใจ สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างไม่มีวันเหือดหาย

สิทธินนท์ พงศ์รักธรรมได้รับอิทธิพลจากภาพการ์ตูนเช่นกันแต่เมื่อปรับมาใช้กับการสร้าง สรรค์สามารถสร้างรูปลักษณ์พิเศษของพลังเงียบแห่งการแสดงออกทางอารมณ์เพื่อการปลด ปล่อยความรู้สึกภายในได้อย่างลึกซึ้ง มีเรื่องราวเสมือนการบันทึกเหตุการณ์ทางความรู้สึกของแต่ละช่วง เวลาซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่ผ่านพบ โดยใช้สื่อผสม 2 มิติ และ 3 มิติ รวมไปถึงการติดตั้งบนพื้นที่เฉพาะเพื่อการเสนอผลงาน ตั้งแต่เรียนจบจากสถาบันศิลปะศิลปินพัฒนาผลงานต่อเนื่อง สามารถกำหนดจัดแบ่งช่วงเวลาของการแสดงออกได้เป็นสองลักษณะคือ การถดถอยทางอารมณ์ และความเบิกบานใจ พัฒนาการช่วงแรกสิทธินนท์ปลดปล่อยความรู้สึกผ่านรูปทรงคนแบบลดทอนเรียบง่ายดัดแปลงมาจากรูปการ์ตูนแสดงอากัปกิริยารันทดท้อถอย รูปทรงหลักในผลงานเป็นรูปทรงเดี่ยวแทนค่าตัวศิลปินและมักจะมีปีกติดอยู่ด้วยซึ่งส่อแสดงสัญลักษณ์ความปรารถนาที่จะโบยบินไปให้พ้นจากความไม่เชื่อมั่นในสถานภาพแห่งตน แต่ปีกที่ปรากฏกลับหลุบหลู่ดูสิ้นสภาพการเหิรบิน สร้างความสิ้นหวังทุกข์เวทนาให้กับรูปทรงคนมากยิ่งขึ้น นอกจาก นี้รูปทรงประธานยังถูกจัดวางให้โดดเดี่ยวอยู่ในบริเวณพื้นที่กว้างหรือซุกซ่อนอยู่ในซอกมุมอึดอัดคับแคบและพื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ว่างปิดภายในอาคาร การจัดสร้างผลงานลักษณะนี้สามารถสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ดูได้สูงโดยเฉพาะในผลงานติดตั้งศิลปินยังเลือกใช้แสงแบบเวทีละครกำหนดค่าน้ำหนักแสงเงาให้ตัดกันอย่างรุนแรงฉายลงบนรูปทรงพร้อมไปกับการใช้แสงสีน้ำเงิน และแดงเข้าช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางอารมณ์ สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพโดดเดี่ยว บนพื้นที่อ้างว้างไร้ซึ่งความสนใจใยดีจากผู้คน ไม่สามารถหาทางออกให้กับความปรารถนา แห่งการยอมรับจากโลกเปิดภายนอก นับเป็นช่วงเวลาแห่งการติดอยู่กับโลกภายในหรือสถานที่กักขังที่มองไม่เห็นอย่างน่าเวทนา แรงกดทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากรูปทรงของสิทธินนท์ไม่ต่างไปจากผลงานชื่อ “กู่ก้อง” (“The Scream,” Edvard Munch) ของ เอ็ดวาร์ด มุงค์ ศิลปินแนวทางแสดงออกทางอารมณ์ชาวนอร์เวย์ซึ่งส่อแสดงให้เห็นถึงความกลัว ความแปลกแยก และความเก็บกดภายใน

ต่อมาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับโลกภายนอกเกิดการเปลี่ยนแปลง ศิลปินได้รับไมตรีจากเพื่อนต่างชาติต่างภาษา ประกอบกับผลงานศิลปะเริ่มได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ในผลงานสองชุดต่อมาซึ่งมีลักษณะการแสดงออกทางด้านเบิกบานใจ โลกทรรศน์ของสิทธินนท์เริ่มแปรสภาพไปจากเดิม เรื่องราวจากภายในของศิลปินในช่วงเวลานี้ถูกขับขานออกมาเป็นภาพลักษณ์ค่อนข้างสดใสท่ามกลางสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่น่าประทับใจ ในผลงงานชุดที่สอง (ช่วงเดือนมกราคม) การจัดสร้างภาพถูกปรับเปลี่ยนให้มีชีวิตชีวามากกว่าชุดแรก รูปทรงประธานของภาพเพิ่มจำนวนมากขึ้น องค์ประกอบภาพแสดงอากัปกิริยาความเคลื่อนไหวไม่ดูเงียบเหงาดังแต่ก่อน มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคนที่ผูกพันและคำนึง ถึง เลือกสื่อความหมายด้วยการใช้อักษรย่อบนรูปทรงและใช้รูปถ่ายเพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ความสัมพันธ์เช่นใช้อักษร “ M” บนลำตัวของรูปทรงหนึ่งในผลงาน แม้จะเป็นรูปทรงที่ดูคล้ายกับรูปทรงคนอื่นๆในภาพจนไม่สามารถแยกแยะได้เด่นชัดว่าเป็นชายหรือหญิง แต่พอจะอนุมานได้ว่าเป็นเพื่อนหญิงดูจากการใช้สีสดใสในส่วนผมและลำตัวแตกต่างไปจากสีลำตัวของศิลปินซึ่งมักจะใช้สีคล้ำขมุกขมอมหรือสีดำแทนค่าและบนลำตัวนิยมเน้นใช้อักษร “G” (Getzo) ย่อมาจาก “เกทโซ่” ซึ่งเป็นฉายาเพื่อนตั้งให้ นอกจากนี้ยังมีการใช้รูปคนในภาพถ่าย นำมาปะติดบริเวณพื้นหลังภาพในผลงานงานชิ้นอื่นเพื่อช่วยเสริมการสื่อความหมายแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งระหว่างศิลปินกับบุคคลในภาพเหล่านั้นอีกด้วย ในผลงานชุดนี้สีสันสดใสถูกเพิ่มเติมเข้าไปทั้งในรูปทรงประธานรูปทรงรองและในส่วนพื้นหลังภาพส่งเสริมการใช้สัญลักษณ์แทนค่าเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึกเบิกบานใจแย้มยิ้ม สอดดคล้องไปกับการใช้เทคนิคปะติดกระดาษและรูปถ่ายบนพื้นกระดาษได้อย่างน่าสนใจ

ในผลงงานชุดปัจุบันซึ่งถูกจัดแสดงอยู่ขณะนี้เป็นภาคต่อเนื่องจากผลงงานชุดที่สองแสดงถึงเรื่องราวของตัวศิลปินตามชื่อของนิทรรศการ “ความในใจ” (The story from my mind) สืบเนื่อง มาจากความแปรเปลี่ยนผกผันทางด้านความสัมพันธ์จากเพื่อนเก่าไปสู่เพื่อนใหม่กลายเป็นแรงบัน ดาลใจสำคัญให้ศิลปินระบายความในใจผ่านรูปทรงด้วยการวาดเส้นบนแผ่นกระดาษแล้วนำไปดัดแปลงจัดวางลงในสถานที่ต่างๆพร้อมกับบันทึกภาพมาเผยแพร่ ผลงานภาพถ่ายอ้างถึงเรื่องราวที่ผ่านมาและกำลังดำเนินอยู่ รูปทรงคนในเรื่องราวทั้งหมดแทนค่าคนสามคน คนแรกคือศิลปินอีกสองคนเป็นเพื่อนหญิงชื่อ “มียา” (Meya) และ “ทิชชา” (Ticha) การเล่าเรื่องความในใจเริ่มจากความ สัมพันธ์กับมียาเกิดขึ้นณที่ใดที่หนึ่งอาจเป็นในร้านหนังสือ ต่อมาความสัมพันธ์เริ่มแน่นแฟ้น จึงมีรูปของหญิงสาวคนนี้ในสถานที่ต่างๆที่ศิลปินเคียงข้างไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นห้องทำงาน บ้านพัก ริมแม้น้ำเจ้าพระยา ในภาพชื่อ “ยิง” (Shoot&Do Not) แสดงการสิ้นสุดความ สัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสอง ฝ่ายชายใช้ปืนยิงฝ่ายหญิงโดยมีการใช้สก๊อตเทปชนิดฝ้าปะติดทำภาพให้ดูเลือนลางในส่วนของปืนล้อเลียนเทคนิคการเซ็นเซอร์ภาพในโทรทัศน์หรือในหน้าหนังสือพิมพ์ ในรูปแม้ผู้ดูอาจไม่รู้สึกถึงความรุนแรงแต่ในความรู้สึกของศิลปินน่าจะส่อแสดงถึงความแตกหัก การแยกทางส่งผลให้เกิดสองภาพสุดท้ายซึ่งมีหญิงสาวชื่อทิชชาเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาพแทนที่มียาภายในสถานที่คุ้นเคยของศิลปิน การร้อยเรียงภาพแสดงเรื่องราวตั้งแต้ต้นจนจบคล้ายกับภาพการ์ตูนแบ่งช่องที่เราพบเห็นทั่วไปดูเข้าใจง่าย การสื่อสารเรื่องราวในผลงานชุดนี้แม้ไม่มีการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกอย่างเด่นชัดเหมือนกับในชุดที่ผ่านมาซึ่งเป็นคุณค่าพิเศษของศิลปิน แต่สิ่งที่เพิ่ม เติมเข้ามาในพัฒนาการสร้างผลงานครั้งนี้คือการใช้รูปแบบการ์ตูนสองมิติเขียนบนกระดาษจัดวางในพื้นที่จริง พยายามไม่ให้ดูขัดความรู้สึกด้วยการจัดมุมเพื่อถ่ายภาพเสนอเป็นผลงาน เป็นการใช้สิ่งที่พบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวันสามประการบวกหนึ่งคือรูปการ์ตูน สถานที่จริงคนทั่วไปคุ้นเคย และรูปถ่ายสังเคราะห์รวมเข้าด้วยกันแสดงถึงเรื่องความรักร่วมสมัยมีทั้งหวานชื่นมีทั้งขมขื่นซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญสำหรับศิลปินทุกยุคทุกสมัย แรงขับในการสร้างสรรค์ (creative sublimitation)ของสิทธินนท์คงไม่แตกต่างไปจากแรงขับของศิลปินยิ่งใหญ่ในอดีตทั้งในโลกตะวันออกและตะ วันตกผู้สร้างและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมกระแสนิยมร่วมสมัยอย่างต่อเนื่องจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิงคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สูจิบัตรศิลปะนิพนธ์ 2550 ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย กรุงเทพฯ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน)

Perhaps, it’s a story from a contemporary mind.

An introduction by Asst. Prof. (PHD.) Narin Rattanjan

The manifestation, existence and ever-changing nature of contemporary culture is based on the interest in an issue of that particular time. This, along with the technological discoveries, which effect the way we live, communicate and entertain ourselves, contribute to the way we perceive the world around us. It may be observed that there's a vast difference in our grandfather’s generation, in regard to the interest of contemporary culture, compared to our father generation or to ours. People who grew up during the exploration of the moon 40 years ago would be enjoying their news from the black and white television about the exciting discovery, which was the era's zeitgeist, the same way we enjoy our regular leisure today. Similarly, children also enjoy their leisure through a variety of cartoons and comics, which were created according to the changing social needs and fashion. In the past, and the present, comical illustration has been a very influential media to children and to their way of thinking. Likewise, parts of man’s nature in each and every era has been influenced by cartoon of his interest - ranging from Mickey Mouse to Superman, and from Doraemon to the recent Naruto the Ninja. Those pursuing this vision include a group of young contemporary artists who are turning that inspiration from cartoon into their endless artistic expression.

Getzo Sithinon Pongrakthum is one such person who drawn his inspiration from cartoon art, but his execution thereof goes beyond the trivial as he creates a very profound expression of intriguing unvoiced energy that emerges from within himself. Using mixed media including 2D, 3D and Installation, Getzo illustrates different memoirs drawn from the journey of life. Since graduating from an Art Institute, Getzo has continuously developed his work, which can be identified in 2 categories a series depicting emotional descent, and another depicting state of delight.

During his early development, Getzo communicated his feelings via abstract human forms inspired by depressive comical expressions. There’s only one solid centerpiece that represent the artist. It usually consist of “wings”, showing the desire to fly away from self-disbelieve, however the wings appeared to be useless and only add to the sorrowful nature of the piece. Further more, in his installations, the subject is usually composed to be in the middle of either an isolated empty space, or a cluttered small hidden gap in a congested interior area. This way of exhibiting creates a very strong effect on the audience, as the artist choose to theatrically set up his work using high contrast lighting. Red and blue lights set up the feeling of the loneliness, being lost in the deserted space, caged in the desperation to be understood by the outside world. The emotional anxiety created in Getzo’s works can be compared to “The Scream” by a Norwegian artist, Edvard Munch, whose work often denotes fear, disparity and inner angst.

Later on, the interaction between the artist and the outside world has changed as he became acquainted with more foreign friends and gained more appreciation for his art. This has inspired him to create his second series of works that, corresponding to his world, grew to be a lot more positive and delightful than before.

All through this period, the story of the artist was pleasantly illustrated in the midst of pleseant environment and optimistic nature. In his second series of work (during January), the composition had been adjusted to be more cheerful, with multiple centerpieces and shapes, movements and expressions that wasn’t as gloomy as his previous work. Stories about love and affiliation starting to appear in his work as he uses initials and photographs to indicate relationships. For example, he uses the letter “M” on certain figures that, although we can’t be certain of their sexual orientation as all figures were quite androgynous, we can guess that they represent a girl from the vibrant color in the hair and body. On the other hand, there’s also a letter “G”, for Getzo, written on other figures with different characteristic. In addition to the initials, he also used photographic collage of people in the background, suggesting the interaction between the artist and the others. In conclusion, this series of work has evolved to be more joyful with more colors introduced into the centerpieces and the supplement objects in his artwork. This, along with other techniques, interestingly reinforces the work's nature of delightfulness.

His current exhibit is a continuation of his previous series showing the artist’s personal perception, as suggested by the exhibition’s name: “The Story From My Mind”. Inspired by the shifting relationships between old and new acquaintances, the artist creates his art work by using line and shapes drawn on paper, then displayed in various spaces and documented them in photographic format - implying the incidents that has happened and still on going in the present.

There are 3 subject figures in this series, one is the artist, and the other two are his girlfriends named “Meya” and “Ticha”. The narration started off from the beginning of the relationship between the artist and “Meya” , which might have happened in a bookstore, and goes on to describe the relationship as it intensified. The figures were often displayed together in various places from his studio, to the Chawpraya river pier. Lastly, the piece named “Shoot & Do Not!” shows their relationship coming to an end when he shot her down with a gun that was blurred by masking tapes, mocking the media’s censorship. Although this image doesn’t portrait the aggressiveness of the situation, it represents the breaking point in their liaison, which leads to the last two images where the artist introduced “Ticha” as substitute to “Maya”, locating in the artist’s personal spaces. Overall, the narration from the beginning to the end was well executed, using the style of comic book frames that is familiar to the audience.

Although this series seems to be lacking in emotional, the artist’s strength in the past, there is an enhancement in his execution using the new technique of photographing hand drawn images from various setups. Using the 3 common elements in our daily lives, namely: comical illustrations, actual locations, and Photographic images, the artist beautifully and effectively tells a story of bittersweet relationship, which seems to be the inspiration for artist in very era. Therefore, there’s no difference in Getzo’s creative sublimination to one’s of the eastern and western historical masters, who created and upheld the contemporary culture in the past, present and beyond.

Reference:Faculty of Sculptural Printing & Fine Arts, Silpakorn University, Graduation Thesis exhibition catalog 2007, Bangkok, Amarin Printing Co., Ltd.