Sunday, October 4, 2009

ITYM BOOK

ขอขอบคุณรูปจาก ITYM Blog ครับ
Itym Book
Photobucket

หนังสือไอติมเสร็จแล้วครับผมหลังจากตั้งตารอกันมานาน

Meya to Product

Meya on T Shirt
Photobucket
มาแล้วครับเสื้อของ มียะ จำนวนจำกัดครับ สนใจสั่งจองได้ครับ

am i live alone?




















am i live alone? : สิทธินนท์ พงศ์รักธรรม (Getzo)


อารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงของคนแต่ละคนอยู่หนได?



หลายต่อหลายครั้งที่เรามักตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรทำอะไร ความสงสัยและความสับสนในตัวเองลึกๆ

ภายในจิตใจมักรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราเสมอ

บางครั้งการคิดเหตุผลดีๆ เพื่อที่จะมาสนับสนุนตนเองก็อาจเป็นการหลอกลวงตนเองก็เป็นได้ไม่มีเหตผลจะยืนยันตัวเราเองได้อย่างชัดเจน แต่บางคนที่ไม่พยายามหาเหตุผล มาค้นหา หรือกำหนดตนเอง แต่

ใช้ความรู้สึกที่มี ค้นหาตัวตนที่แท้จริงซึ่งจะนำพาเรื่องราวมากมายผ่านออกมาในการแสดงออกและเรื่องราวเหล่านั้น คือเรื่องราวแห่งรู้สึกที่บ่งบอกตัวตนที่แท้จริงออกมา การค้นพบจึงเกิดขึ้น

บางครั้งการหาเหตผล ก็ทำให้สับสนในการกระทำ และบ่อยครั้งคนทำงานศิลปะใช้อารมณ์ความรู้สึกถ่ายทอดผลงานออกมา อย่างครั้งหนึ่งศิลปินชื่อดังก้องโลก จากลัทธิเหนือจริง อย่าง ซาวาดอร์ ดาลี ได้สร้างผลงาน โดยปล่อยให้เหตุผลของตนเองนั้นหลับใหล แล้วจึงถ่ายทอด จินตนาการแห่งความฝันออกมา เป็นงานศิลปะที่มีคุณค่า

สิทธินนท์ พงศ์รักธรรม ได้ดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานของเขาโดยมีที่มาที่ไปจากประสบกาณ์ชีวิตที่ตนเองต้องเผชิญสภาพสังคมที่รายล้อมอยู่รอบตัวของเขา ซึ่งเขาเลือกที่จะปลดปล่อยพลังความรู้สึกเหล่านั้น สำแดงมันออกมาลงบนพื้นที่งานแบบ Size specific ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่แห่งจิตภายในของตนเอง โดยมีรูปทรงประติมากรรมมนุษย์ผู้เศร้าสร้อย และฝีแปรงจากภู่กัน เป็นภาษาภายใน

การที่ผู้ชมได้เดินเข้าไปชมผลงาน ในห้องแห่งนั้น ก็เปรียบเสมือนได้เข้าไปในจิตใจของเขา ที่ขุ่นมัว และรับรู้ถึงความรู้สึกภายในเของเขาโดยผ่านผลงานที่เป็นดั่งภาษาทางศิลปะสื่อความหมายไปยังผู้ชม โดยที่ภาษาพูดไม่อาจเอ่ยออกมาได้

บ่อยครั้งที่คนเรามักต้องการถ่ายทอดความรู้สึกภายในลึกๆที่ขุ่นข้องออกมา แต่ไม่สามารถพูดมันออกมาได้ นานเข้า นานเข้าก็อาจปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกมาด้วยการ ร้องให้ ตะโกนและหวีดร้อง สิทธินนท์ ปล่อยแรงเก็บกดเหล่านั้นออกมาอย่างชาญฉลาด ด้วยการสร้างพื้นที่ของห้องมืดสลัว ห้องแห่งความรู้สึกสีนํ้าเงิน ที่เศร้าหมองเหมือนครั้งหนึ่งที่ ปีกัสโซ่ ได้สร้างสรรค์ผลงานในยุคบลูพีเรียจยุคแห่งความเศร้าหมองของเขา

สิทธินนท์ กล่าวว่า ตนเองได้เผชิญชีวิตที่สับสนวุ่นวายกับสังคมรอบตัว กลัวและไม่ไว้ใจจากการกระทำต่อสังคม เป็นสังคมที่สร้างให้ตัวเขาเกิดความโดดเดี่ยวและผลักตัวของเขาให้เกิดความแปลกแยก เสมอมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ขับข้องอยู่ในใจของเขา จนตัวเขาเองเกิดความรู้สึกว่าเป็นปมฝังอยู่ในใจ การที่ สิทธินนท์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งความรู้สึก ก็เปรียบเสมือนการคลี่คลายปม ปัญหาเหล่านั้นไปในตัวเป็นการบำบัดจิตใจใหม่ เสมือนการอาบนํ้า แปรงฟันในแต่ละวัน เพียงในที่นี้คือการทำความสะอาดจิตใจ

รูปทรงของมนุษย์ในพื้นที่ของงานมีความรู้สึกที่แตกต่างกันไปตามอารมณ์ โดย เค้าเลือกที่จะใช้วัสดุอย่าง ขี้เลื่อย มาสร้างตัวผลงาน ซึ่งความหมายของขี้เลื่อยได้แสดงนัยว่าเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และถูกทอดทิ้งจากมนุษย์ บวกกับการนำฝีแปรงที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งการสัยสนและขัดแย้ง ซึ่งโดยรวมของห้องแห่งจิตไต้สำนึกนี้ ถูกปกคลุมไปด้วยแสงสีนํ้าเงินสลัว ไร้ชีวิตชีวาเป็นจิตไต้สำนึกที่ลางเลือน และความไร้สำนึงที่รุนแรง สิ่งเหล่านี้มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดต่อผู้ท่เข้าไปชม ซึ่งผู้ชมจะเกิดการเปิด ผัสสะ ในการรับรู้ได้มากขึ้น แม้ว่าผลงานของ สิทธินนท์ จะใช้สัญลักณ์แห่งความรู้สึกแต่ไม่ยากที่ผู้ชมจรับรู้ห่วงแห่งความรู้สึกนี้ได้แน่นอน

การเกิดขึ้นของผลงาน เหล่านี้ นั้นมีค่าทางความรู้สึกการที่ผู้คนเดินเข้าไปในห้องของงาน ก็เปรียบเสมือนการเข้าไปทำความเข้าใจคนๆหนึ่ง การรับรู้ถึงความรู้สึกต่อคนรอบตัวต่อคนรู้จัก หรือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งการใส่ใจถึงความรู้สึกของคนรอบตัวเป็นสิ่งสำคัญ สิทธินนท์ ได้เป็นเหมือนผู้ถูกกระทำการละเลยต่อจิตใจ และเขาก็พูดกลับออกด้วยคำพูดที่เตือนสติต่อเราให้ตระหนักถึง ความรู้สึกของคนรอบข้างได้อย่างดี

การเกิดผลงานจากอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริง ได้กำหนดตัวตนที่แท้จริงและได้สร้างคุณค่าต่อศิลปะที่ถ่ายทอดออกมาจากความจริงแห่งความรู้สึก ซึ่งศิลปินรุ่นใหม่อย่าง สิทธินนท์ พงรักธรรมได้แสดงความเข้มข้นของสิ่งนี้ออกมาอย่างจริวใจ ปราศจากข้อผูกมัดใดๆในการสร้างสรรค์ผลงาน มีเพียงสิ่งเดียวที่ผูกมัดเขาไว้ คือ ความรู้สึกที่แท้จริง.........



แสดงผลงาน THESIS EXHIBITION 2008 ระหว่างวันที่ 4-15 มีนาคม 2551 หอศิลป์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ





ชวัส จำปาแสน (อะไหล่รัก)

วิชา การวิจารณ์ศิลปะในประเทศไทย